โปรโตคอลที่ใช้ในการรับส่งE-mail
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
เป็นโปรโตคอลแบบ TCP/IP ที่ใช้ในการรับส่ง email ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการรับส่ง mail ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น จึงทำให้เกิดโปรโตคอลที่จะมาแก้ไขในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ POP กับ IMAP แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่า SMTP จะมีข้อจำกัดในการรับ mail แต่สำหรับการส่ง mail หลาย ๆ โปรแกรมก็ยังคงนิยมใช้ SMTP ในการส่ง mail อยู่เช่นเดิม
POP (Post Office Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้รับ mail ซึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็น POP version 3 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า POP3 ซึ่งจะมีการทำงานแบบ Store-and-Forward ซึ่งไม่ควรนำไปสับสนกับ SMTP เพราะ POP จะใช้ในการรับ mail เท่านั้น ส่วน SMTP จะใช้ในการส่ง mail
การทำงานของPOP3 จะทำงานร่วมกับโปรโตคอลTCP โดยทั่วไปจะใช้พอร์ต 110 ในการติดต่อ ขั้นตอนการทำงานของPOP3 จะมี3สถานะคือ
1.สถานะขออนุมัติ –เมื่อเริ่มต้นติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์จะเป็นการเข้าสู่สถานะการขออนุมัติ โยไคลเอนต์จะต้องแจ้งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน(Password) เพื่อขออนุมัติจากเซิร์ฟเวอร์ก่อน โดยไคลเอนต์จะใช้คำสั่งUSER เพื่อระบุชื่อผู้ใช้ หรือคำสั่ง PASS เพื่อกำหนด Password แต่ในกรณีที่ชื่อและ Password ถูกเข้ารหัสไว้ และไม่ได้เป็นค่าASCII ทั่วไปไคลเอนต์จะใช้คำสั่ง APOP ทำงานแทนคำสั่ง USER และ PASS
2.สถานะรับส่งรายการ - หลังจากที่ได้รับอนุมัติจากเซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จเข้าสู่สถานะที่ใช้คำสั่งในการทำงานต่างๆ
3.สถานะปรับปรุงข้อมูล – เมื่อ User Agent เลิกใช้งานด้วยคำสั่งQUIT ของPOP3 เซิร์ฟเวอร์ก็จะเข้าสู่สถานะปรับปรุงข้อมูล เพื่อลบอีเมล์ที่ดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้วออกไป จากนั้นก็จะเข้าสู่สถานะขออนุมัติใหม่โดยอัตโนมัติ เพื่อรอรับการทำงานครั้งต่อไป
IMAP (Internet Message Access Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับ mail จาก server ซึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ IMAP version 4 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IMAP4 ซึ่งจะมีความสามารถในการเลือกเฉพาะ header กับ sender หรือสิ่งที่เราต้องการได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือก download เฉพาะ mail ที่เราต้องการได้ด้วย แต่ IMAP ก็ต้องอาศัยการติดต่อกับ server มากกว่า POP
อีเมล์ E Mail หรือ Electronics Mail แปลตรง ๆ ตัวก็คือ ไปรษณีย์อีเลคโทรนิคส์ นั่นเอง ดังนั้น ความหมายง่าย ๆ ของอีเมล์ ก็คือ เป็นเครื่องมือสำหรับติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันโดยที่จากเดิม เราอาจจะใช้วิธีการส่งข้อความ ไปหาผู้อื่นด้วยการเขียนเป็นจดหมาย และส่งผ่านทางไปรษณีย์ แต่ในโลกของอินเตอร์เน็ต จะมีบริการที่เรียกว่า อีเมล์ ซึ่งสามารถทำการส่งข้อความต่าง ๆ ไปยังผู้รับปลายทาง (ที่ใช้บริการอีเมล์) ได้ และในปัจจุบันนี้ ยังสามารถทำการแนบ ไฟล์เอกสาร ของคอมพิวเตอร์ หรือรูปภาพต่าง ๆ ไปอับอีเมล์ได้ด้วย จึงทำให้เพิ่มความ สะดวกสบายได้มากขึ้น
คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการ รับ-ส่ง อีเมล์
- Inbox หมายถึงกล่องหรือที่สำหรับเก็บอีเมล์ ที่มีผู้ส่งเข้ามา
- Outbox หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่กำลังจะส่งออกไปหาผู้อื่น
- Sent Items หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่เราได้เคยส่งออกไปหาผู้อื่นแล้ว
- Delete Items หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ ที่ได้ทำการลบทิ้งจาก Inbox แต่ยังเก็บสำรองไว้อยู่
- Drafts หมายถึงกล่องหรือที่เก็บอีเมล์ สำหรับใช้เก็บอีเมล์ต่าง ๆ ชั่วคราว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
- Compose หรือ New Mail จะเป็นการส่งอีเมล์ใหม่ ไปหาผู้อื่น
- Forward จะเป็นการส่งต่ออีเมล์ ที่ได้รับมานั้นไปหาผู้อื่น
- Reply จะเป็นการตอบอีเมล์ ที่มีผู้ส่งมาถึงเรา
- Reply All จะเป็นการตอบอีเมล์ ที่มีผู้ส่งมาถึงเรา และส่งกลับไปให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในอีเมล์ฉบับนั้น
- Subject หมายถึงหัวข้อของอีเมล์ที่เราจะเขียนหรือส่งออกไป
- To หมายถึงชื่อหรืออีเมล์ ของผู้ที่เราต้องการส่งอีเมล์ไปหา
- CC หมายถึงการส่ง copy อีเมล์นั้น ๆ ไปให้ผู้อื่นที่ต้องการด้วย
- BCC หมายถึงการส่ง copy อีเมล์นั้น ๆ ไปให้ผู้อื่นที่ต้องการ และไม่ให้ผู้รับคนอื่นมองเห็นว่า มีการส่งไปให้ในช่อง BCC ด้วย
- Attach หมายถึง การแนบไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปกับอีเมล์ฉบับนั้น
- Address Book หมายถึงสมุดรายชื่อของอีเมล์ต่าง ๆ ที่เราสามารถเก็บไว้ เพื่อให้นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น
อีเมล์แอดเดรส(E-mail Address)
อีเมล์แอดเดรส(E-mail Address) คือที่อยู่ในอินเตอร์เนทหรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเตอร์เนท ส่วนประกอบของ E-mail Address
Onec0451@Schoolnet.net.th
1 2 3 4
1. ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้(User Name)
2. เครื่องหมาย @(at sign) อ่านว่า "แอท"
3. ที่อยู่ของอินเตอร์เนทเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิก (Domain Name)
4. รหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ
ประเภทของ e-mail
ประเภทของ e-maile-mail มี 3 ประเภท คือ
1. POP (Post Office Protocol Version)
POP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Offline Model กล่าวคือเวลาทำงาน E-mail Client จะเชื่อมต่อกับ Mail Server จากนั้นจะ Download และลบ E-mail ออกจาก Server หรือ Download เพียงอย่างเดียวแล้วทิ้ง E-mail ไว้บน Server ภายหลังจากที่ E-mail ถูก Download มาที่เครื่อง Client เรียบร้อยแล้ว Client จะตัดการเชื่อมต่อออกจาก Server หลังจากนั้น E-mail จะถูก Process ที่เครื่อง Client ทั้งหมด ข้อได้เปรียบของการทำงานแบบนี้ก็คือ Client แต่ละเครื่องใช้เวลาในการเชื่อมต่อกับเครื่อง Mail Server น้อยมากอีกทั้งยังต้องการเนื้อที่เก็บ E-mail บน Server น้อยด้วยเช่นกัน แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถอ่าน E-mail จาก Client เครื่องอื่นได้อีกหากว่าเรา Set ให้ลบ Mail บน Server หลังจาก Download เสร็จ หรือ ไม่สามารถบอกได้ว่า Mail ฉบับไหนเคยอ่านไปแล้วบ้าง หากเรา Set ค่าแบบ ให้ทิ้ง E-mail ไว้บน Server อีกประการหนึ่งคือเครื่อง Client จะต้องมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเป็นผู้ Process E-mail ด้วยตนเอง
2. IMAP (Internet Message Access Protocol Version)
IMAP จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model ผสานกับ Disconnected Model กล่าวคือ การจัดการและการ Process E-mail ทั้งหมดจะถูกจัดการที่ Server เพียงอย่างเดียว Client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน E-mail หรือส่งคำสั่งไป Process E-mail บน Server เท่านั้น แบบนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน E-mail จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก E-mail จะถูกเก็บอยู่ใน Server เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า E-mail ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ Server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ Process E-mail เครื่อง Client จะต้องเชื่อมต่อกับ Server ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ POP
3. WEB Based
Web Base Mail เช่น อีเมล์ของ hotmail.com, chaiyo.com ซึ่งหากต้องการใช้งานอีเมล์เหล่านี้ จะต้องใช้งานโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ เช่น Internet Explorer, Firefox ก็สามารถเข้าเช็คอีเมล์หรือเขียนอีเมล์ได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเสมอไป เพราะโปรแกรมอีเมล์ดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี Web-based Application ที่ใช้โปรแกรมเว็บบราวเซฮร์เป็นเครื่องมือในการเปิดโปรแกรมใช้งาน จึงทำให้โปรแกรมอีเมล์สามารถทำงานได้เหมือนกับการเข้าไปดูเว็บไซต์ทั่วไป
ขั้นตอนการขอใช้บริการ
1. ทำการของบัญชีผู้ใช้งานที่สำหนักคอมพิวเตอร์(ระบบจะทำการสร้างบัญชีผู้ใช้งานจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ที่ ๆ ต้นชั่วโมง ดังนั้น ถ้าขอบัญชีตอน 11:05 จะสามารถใช้งานได้ในเวลาประมาณ 12:10 เป็นต้น)
2. ทำการเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยใช้บัญชีผู้ใช้งานของสำนักคอมพิวเตอร์
2. ทำการเปลี่ยนได้ที่เครื่องที่สำนักคอมพิวเตอร์ให้บริการโดยการกด Ctrl + Alt + Del แล้วเลือก Change Password
3. เมื่อทำการเปลี่ยนรหัสผ่านแล้วจะสามารถใช้งานได้ที่ WindowsLive
o โดยอีเมล์จะเป็น รหัสนิสิต@live.buu.ac.th
o รหัสผ่านจะเป็น รหัสผ่านที่นิสิตกำหนดขึ้นมา
สามารถดูเอกสารประกอบได้ ที่นี่
การเขียนจดหมาย ข่าว ประกาศและแจ้งความ
การเขียนจดหมายเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างบุคคลหรือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
ช่วยทำให้ระยะทางไกลเป็นใกล้ เพราะไม่ว่าบุคคลหรือหน่วยงานจะห่างไกลกันแค่ไหนก็
สามารถใช้จดหมายส่งข่าวคราวและแจ้งความประสงค์ได้ตามความต้องการ การส่งสารหรือ
ข้อความในจดหมายต้องเขียนให้แจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย
องค์ประกอบและรูปแบบของจดหมาย
ผู้เขียนคงเคยเขียนจดหมายหรืออ่านจดหมายมาบ้างแล้ว คงจะสังเกตเห็นว่าจดหมาย
นั้นไม่ว่าประเภทใด จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่อยู่ของผู้เขียน เริ่มกึ่งกลางหน้าระหว่างเส้นคั่นหน้ากับริมของขอบกระดาษ
๒. วัน เดือน ปี ที่เขียนจดหมาย ให้เยื้องมาทางซ้ายของตำแหน่งที่เขียนที่อยู่เล็กน้อย
๓. คำขึ้นต้น ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๑ นิ้ว
๔. เนื้อหา ขึ้นอยู่กับย่อหน้าตามปกติ อาจจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านซ้าย ๒ นิ้ว
๕. คำลงท้ายอยู่แนวเดียวกับที่อยู่ของผู้เขียน
๖. ชื่อผู้เขียน อยู่ใต้คำลงท้าย ล้ำเข้าไปเล็กน้อย
ตัวอย่าง รูปแบบการเขียนจดหมายทั่วไป
Œสถานที่เขียนจดหมาย
วัน.... เดือน...... ปี........
ระยะ ๑ นิ้ว Ž คำขึ้นต้น
ประมาณ ๒ นิ้ว เนื้อหา